วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Week02_เกมในอนาคต



เกมในอนาคต


เกมที่ผมคิดจะทำคืออออออออ.........

เกมแนวเดิมจากที่ผมประทับใจ เกมแนวของหมากกระดาน ที่คราวนี้มาจะอัพเกรดใหม่ (555)

จากที่คิดไว้ในอนาคต จะใช้ระบบของ Hologram ที่พัฒนาไปแล้วเข้ามาช่วยในการเล่น โดยในเกมจะมีระบบอยู่ 2 ระบบคือ Chess set กับระบบ Commander


2ระบบนี้คืออะไร?


ระบบ Chess set
 คือ จะให้เราสวมบทไปเป็นตัวหมาก ในกระดานมันจะคล้ายๆกับการเลือกสายอาชีพในเกมออนไลน์ มีการเก็บเลเวลของตัวหมากนั้นๆ โดยหมากจะมีให้เลือกอยู่ 4 ตัว คือ Rook , Knight , Bishop และ Queen  ทั้ง 4 ตัวนี้จะเป็นเหมือนกับ Class พอเราเปลี่ยน ความสามารถก็เปลี่ยนตาม สามารถเปลี่ยนได้เรื่อยๆ ความสามารถของแต่ละตัวจะแตกต่างกันไป มีสกิลที่แตกต่างกันไป บทของ Chess set จะมีบทบาทในตอนที่เกิดการปะทะกันของ หมากทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อเกิดการปะทะกัน จะเกิดเป็นฉากที่ต้อง Battle กับตัวหมากฝ่ายตรงข้าม ในการปะทะก็ยังใช้เทคโนโลยีของ Hologram ในการต่อสู้อยู่ ขณะที่ต่อสู้จะมีสกิลพิเศษที่จะมีมากขึ้นเมื่อมีเลเวลที่สูงตามไปด้วย เลเวลเราจะได้จากการที่เราสามารถล้มคู่ต่อสู้ของเราลงได้ ในตาที่เราเดิน หากการต่อสู้เราเป็นฝ่ายที่ชนะ เราก็สามารถกินตัวหมากตัวนั้นได้ แต่ถ้าหากแพ้ เราจะไม่สามารถกินตัวหมากนั้นได้ และเสียตาฟรีไป 1 ตา (เราอยู่ที่ตาหมากเดิมก่อนที่จะมีการปะทะกัน)

ระบบ Commander mode
ในโหมดนี้ถือเป็นโหลดหลักของการเล่นเลยก็ว่าได้ หากใครที่เคยเล่น Battlefield 4 มาคงจะพอทราบระบบนี้บ้าง แต่เราจะเอามาปรับเปลี่ยน โดยที่เราจะมาเป้นคนที่คุมเกมทุกอย่างในหมากกระดานนั้น ถือเป็นหัวใจหลัก เป็นสมองของทีมเลยก็ว่าได้ ควบคุมตัวหมากฝ่ายเราทุกตัวว่าจะให้ทำอะไร ให้เดินไปตรงไหน แต่จะไม่สามารถเข้าไปสั่งการใน Battle ของ Chess set ได้ ได้ฝึกการแก้ปัญหาไปในตัวด้วยหาก Chess set Battle แล้วแพ้ ทำให้ไม่สามารถเดินตาหมากในตาที่ต้องการได้ Commander mode เป็นคนที่มีความสำคัญมาก เราเลยเพิ่ม ความสำคัญเข้าไปอีก (5555) โดยให้เป็นผู้ที่คุมการเดินของ King ด้วย ในการ Battle ของ King กับตัวหมากตัวอื่นนั้น หากเราเป็นฝ่ายที่กินตัวหมากอื่น เราจะชนะแน่นอน หากฝ่ายเราเป็นฝ่ายที่ถูกรุก ต้องหลบ King หรือหาหมากตัวอื่นมาบังตารุกเท่านั้น!!



ตัวอย่างของระบบ Commander Mode ในเกม Battlefield 4


คร่าวๆก็คงประมานนี้ ระบบที่จะใช้หลัก คงเป้นระบบของ Hologram ที่ในอนาคตคงมีการพัฒนาไปมากกว่านี้อีกมากแน่ๆ อาจจะสัมผัสวัตถุนั้นๆแล้วรู้สึกเหมือนได้จับของจริงๆอยู่เลยก็เเป็นได้...... : )



วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Week_01 เกมแรกที่ฉันประทับใจ

Chess

หากจะพูดถึง เกม ในปัจจุบันก็คงจะนึกถึงแต่เกม computer หรือ เกมที่เล่นบนเครื่อง console แต่ตอนที่ยังเด็ก ยังบ้าบอๆอยู่ ผมเล่นเกมพวกนี้ไม่เป็นหรอก ที่พอจะเล่นได้ ณ ตอนนั้น ก็คงเป็นพวกเกมกระดาน
เกมกระดานคืออะไร?? หลายคนอาจจะสงสัย มาเล่าถึงประวัติของเกมกระดานกันก่อนดีกว่า
เกมกระดาน คือเกมที่ ต้องใช้ชิ้นส่วนหรือตัวหมากวางไว้บนพื้นที่เล่น เคลื่อนที่หรือหยิบออกจากพื้นที่เล่น พื้นที่เล่นเปรียบได้กับ "กระดาน" ซึ่งจะมีผิวหน้าหรือรูปภาพเฉพาะสำหรับเกมนั้น ๆ เกมกระดานมีหลายประเภทและหลากรูปแบบ ตั้งแต่รูปแบบที่ง่ายที่สุดคือหมากฮอส ไปจนถึงเกมที่มีความซับซ้อน มีกติกามากมาย ต้องใช้แผนการหรือยุทธวิธีเข้าช่วยเพื่อที่จะให้ตนเองชนะ คือบรรลุจุดประสงค์ของการเล่นเกมนั้น การเล่นเกมกระดานเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่ง บางครั้งก็ใช้เกมกระดานสำหรับการแข่งขันในระดับชาติหรือนานาชาติ

 เอาหล่ะ ทีนี้พอจะเข้าใจกันบ้างแล้วเนอะ  มาเข้าเรื่องกันต่อ :)

เกมกระดานที่ผมชอบและประทับใจในตอนเด็กๆ ก้คงหนีไม่พ้น หมากฮอส หมากรุกไทย หมากรุกสากล ที่สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เล่นกันเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวหรือคนรอบข้างได้เป็นอย่างดี เกมหมากกระดานประเภทนี้ถือเป็นเกมประเภททีละรอบ (Turn Based Strategy) เกมวางแผนการรบ (Strategy Game) เกมแรกๆเลยก็ว่าได้ งงหล่ะสิว่าทำไมถึงเรียกได้ว่าเป็นเกมแรกๆ มาเล่าถึงประวัติกัน ประวัติของเกมหมากกระดานเนี้ยเกิดขึ้นที่ประเทศอินเดียมาหลายพันปีแล้ว โดยเล่นแบบ สลับกันเดินหมากคนละตา และได้ถูกปรับเปลี่ยนต่อในหลายประเทศเพื่อให้เข้ากับประเทศของตน ทำให้การเดินหมากถึงแม้จะไม่เหมือนกัน แต่ยังคงพื้นฐานเดียวกันอยู่

 ส่วนตัวผมชอบการเล่นหมากรุกสากล (Chess)

มาว่ากันถึงกติกาการเล่นกันดีกว่า เกมมหมากรุกสากลออกจะมีกฎที่แตกต่างจากหมากรุกไทยอยู่สักนิดหน่อย อาจจะงงอยู่สักหน่อยในช่วงแรกๆ เอาหล่ะมาเริ่มกันเลย  :P

กระดาน


กระดานของหมากรุกสากลจะเหมือนกับกระดานของหมากฮอส ที่มีการทำเครื่องหมายช่องเว้นช่อง  ขนาด 8*8 ในแนวนอนมีตัวอักษร A-H กำกับอยู่ในแต่ละช่อง ในแนวตั้งจะมีเลข 1-8 กำกับอยู่ในแต่ละช่องเช่นกัน

  ตัวอย่างตารางหมาก

การจัดหมาก 


ตัวหมาของแต่ละฝ่ายจะจัดเป็น 2 แถว โดยแถวแรกจะจัดเรียงจาก 
เรือ,ปราสาท(Rook) , ม้า (Knight) , บิชอบ(Bishop) , ควีน(Queen) , คิง(King) , บิชอบ(Bishop) , ม้า(Knight) , เรือ,ปราสาท(Rook)
และวาง เบี้ย(Pawn) ไว้ที่แถวที่2

ในการวางตัว King และ Queen นั้นจะต้องให้ Queen ของ แต่ละฝ่ายอยู่ในช่องที่ตรงกับสีของตัวเองเสมอ นั่นคือ Queen สีขาวอยู่ที่ช่องสีขาว Queen สีดำอยู่ในช่องสีดำ ดังนั้นKing และ Queen ของแต่ละฝ่ายจะต้องวางตรงกันกับฝ่ายตรงกันข้ามเสมอ

ตัวอย่างการวางหมาก



 ตัวหมาก


ในการเล่นหมากรุกสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ตัวหมาก 
การกินกันของหมากฝ่ายเราและฝ่ายตรงกันข้าม คือการที่เราเอาตัวหมากของเราไปวางแทนที่หมากฝ่ายตรงข้ามนั่นเอง
เอาหล่ะเรามาทำความรู้จักกับตัวหมากต่างๆ กันดีกว่า


1.คิง(King)
 -การเดิน เดินได้ 8 ช่องรอบตัว
-เดินได้ครั้งละ 1 ช่อง

 ตัวอย่างการเดินของ King


 2.ควีน(Queen) 
 -การเดินหมาก เดินได้ 8 ทิศทางรอบตัว 
-สามารถเดินได้สุดกระดาน จะวางที่ช่องไหนก็ได้ จนก่าจะมีตัวหมากมาขวาง

 
 ตัวอย่างการเดินของ Queen


 3.เรือ,ปราสาท(Rook) 
-การเดินหมาก เดินได้ 4 ทิศรอบตัว (บน,ล่าง,ซ้าย,ขวา)
-เดินไกลเท่าไหร่ก็ได้จนกว่าจะมีตัวหมากอื่นมาขวาง
 
 ตัวอย่างการเดินของ Rook
 4.บิชอบ(Bishop)
 -การเดิน เดินในแนวทเฉียง 4 ทิศ ในสีของตัวเอง 
-สามารถเดนไกลเท่าไหร่ก็ได้จนกว่าจะมีตัวหมากมาขวาง
 ตัวอย่างการเดินหมากของ Bishop

 
 5.ม้า,อัศวิน (Knight)
  -การเดิน เดินแบบ 2*3 ช่องนับจากตัวหมาก ได้ 8 ทาง หรือเดินเป็นรูปตัว L โดยสามารถ เดินข้ามหมากของฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายของตัวเองก้ได้
  
 ตัวอย่างการเดินหมากของ Knight


6.เบี้ย(Pawn)
 -การเดิน เดินตรงทีละ 1 ช่อง 
-เบี้ยของหมากรุกสากลออกจะพิเศษแตกต่างจากหมากรุกไทยอยู่สักหน่อย ตรงที่การเดินในครั้งแรกของเบี้ยนั้น จะสามารถเลือกเดิน 1 หรือ 2 ช่องก็ได้
-การกินของเบี้ย จะกินทิศเฉียง
 -เมื่อเบี้ยเดินไปสุดกระดานอีกฝั่งนึง จะสามารถเลือกเปลี่ยน Pawn เป็น Queen , Rook , Bishop หรือ Knight ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ และจะเป็นตัวนั้นไปตลอด จนกว่าจะจบเกม หรือถูกกิน

ตัวอย่างการเดินของ Pawn 
**ในช่องสามเหลี่ยมคือการกินของเบี้ยที่กินในแนวเฉียง


การเล่นเกมจะสนุกมากยิ่งขึ้นด้วยกฎเพิ่มเติ่ม ดังนี้

กฎการเข้าป้อม

กฎการเข้าป้อมคือ เป็นการเดินครั้งแรกของ King และ Rook ที่อยู่ในแถวเดียวกัน โดยถือเป็นการเดินครั้งเดียวของ King และจะทำไม่ได้หากว่า King หรือ Rook เคยเดินไปแล้ว หรือ King  ถูกรุกอยู่ หรือตาเดินระหว่าง King กับ Rook มีหมาของฝ่ายตรงข้ามคุมตาเดินอยู่ 
ในการเข้าป้อมให้เคลื่อนที่ King 2 ช่อง ไปในทิศทางที่ Rook อยู่แล้วเคลื่อน Rook มาอยู่ช่องด้านหน้า King  


ตัวอย่างการเข้าป้อม
กฎการกินผ่าน
กฎนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ Pawn ฝ่ายหนึ่งเดิน Pawn ครั้งแรก 2 ช่องไปอยู่ติดกับ Pawn ของอีกฝ่ายหนึ่งในแถวเดียวกัน อีกฝ่ายสามารถเลือกที่จะกิน Pawn ตัวนี้หรือไม่ก็ได้โดยถ้าจะกิน ต้องกินทันที มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์ในการกินอีกในตาถัดไป

ตัวอย่างการกินผ่าน
การสิ้นสุดเกม

1. เมื่อ King ถูกรุกไล่จนจนมุม ไม่มีช่องให้หนีได้ ฝ่ายที่ถูกรุก จะเป็นฝ่ายที่แพ้ไป กรณีนี้จะเรียกว่าการ  "รุกฆาต (Checkmate)"
2.ในกรณีที่เสมอ ในกรณีนี้สามารถแยกได้อีก
-2.1 กรณีที่ King ไม่ได้ถูกรุกอยู่ และไม่มีตาเดิน ในตานั้นๆจะถือว่าเสมอ หรือเรียกว่า
 "อับ(Stalemate)" ก็ได้
-2.2 ในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าเกมเสมอในขณะที่เล่นอยู่ ให้ถือว่าเกมได้จบลงทันที
-2.3 ในกรณีที่ รูปหมากมีการซ้ำกันถึง 3 ครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นตาเดินที่ติดต่อกัน ให้ถือว่าเสมอ (อันนี้จะใช้ในการแข่งขันทุกการแข่งขัน เพราะจะมีการจดตาหมากในทุกๆกระดานที่แข่งขันกันว่าในฝ่ายของใครเดินหมากตัวไหนไปที่ตาไหน ถือเป็นสากล)
2.4ในกรณีที่ ไม่มีการกินกัน หรือเดินเบี้ยเลย ฝ่ายละ 50 ตาติดต่อกัน ให้ถือว่าเสมอ

3.ผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประกาศขอยอมแพ้

เป็นอย่างไรกันบ้างกับการอธิบายกฎเบื้องต้น นี่แค่เบื้องต้น ยังมีเทคนิคต่างๆอีกมาก ทั้งนี้ยังต้องอาศัยประสบการณ์ควบคู่ไปด้วย 
ส่วนตัวของผมที่ติดใจกับเกมกระดานเหล่านี้ ถึงแม้ใครหลายคนอาจจะมองว่าล้าหลัง ดูไม่ทันสมัยเลย แต่ถือได้ว่าเป็นเกมที่ให้อะไรหลายๆอย่างกับเรา ทั้งการพัฒนาด้านอารมณ์ การตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำ การวางแผนล่วงหน้า แถมยังได้จิตวิทยาด้วยในการคิด คาดคะเนตาหมากของคู่ต่อสู้ว่าจะเดินแบบไหน เดินอย่างไร เพื่อให้ได้ซึ่งชัยชนะมา

ตัวผมก็เริ่มเล่นมาตั้งแต่เด็ก เรื่อยมา ช่วงที่ติดหนักสุดนี่คาดว่าช่วง ม.4 - ม.5 ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหน หากว่างเป็นต้องตั้งกระดานกับเพื่อนในห้อง นั่งเล่นกัน เล่นจนชำนาญ จนได้มีโอกาสไปแข่งขันในนามของทางโรงเรียน จนได้ถ้วยรางวัลมาให้ทางโรงเรียนได้ภูมิใจกัน :)