Chess
หากจะพูดถึง เกม ในปัจจุบันก็คงจะนึกถึงแต่เกม computer หรือ เกมที่เล่นบนเครื่อง console แต่ตอนที่ยังเด็ก ยังบ้าบอๆอยู่ ผมเล่นเกมพวกนี้ไม่เป็นหรอก ที่พอจะเล่นได้ ณ ตอนนั้น ก็คงเป็นพวกเกมกระดาน
เกมกระดานคืออะไร?? หลายคนอาจจะสงสัย มาเล่าถึงประวัติของเกมกระดานกันก่อนดีกว่า
เกมกระดาน คือเกมที่
ต้องใช้ชิ้นส่วนหรือตัวหมากวางไว้บนพื้นที่เล่น
เคลื่อนที่หรือหยิบออกจากพื้นที่เล่น พื้นที่เล่นเปรียบได้กับ "กระดาน"
ซึ่งจะมีผิวหน้าหรือรูปภาพเฉพาะสำหรับเกมนั้น ๆ
เกมกระดานมีหลายประเภทและหลากรูปแบบ ตั้งแต่รูปแบบที่ง่ายที่สุดคือหมากฮอส
ไปจนถึงเกมที่มีความซับซ้อน มีกติกามากมาย
ต้องใช้แผนการหรือยุทธวิธีเข้าช่วยเพื่อที่จะให้ตนเองชนะ
คือบรรลุจุดประสงค์ของการเล่นเกมนั้น การเล่นเกมกระดานเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่ง บางครั้งก็ใช้เกมกระดานสำหรับการแข่งขันในระดับชาติหรือนานาชาติ
เอาหล่ะ ทีนี้พอจะเข้าใจกันบ้างแล้วเนอะ มาเข้าเรื่องกันต่อ :)
เกมกระดานที่ผมชอบและประทับใจในตอนเด็กๆ ก้คงหนีไม่พ้น หมากฮอส หมากรุกไทย หมากรุกสากล ที่สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เล่นกันเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวหรือคนรอบข้างได้เป็นอย่างดี เกมหมากกระดานประเภทนี้ถือเป็นเกมประเภททีละรอบ (Turn Based Strategy) เกมวางแผนการรบ (Strategy Game) เกมแรกๆเลยก็ว่าได้ งงหล่ะสิว่าทำไมถึงเรียกได้ว่าเป็นเกมแรกๆ มาเล่าถึงประวัติกัน ประวัติของเกมหมากกระดานเนี้ยเกิดขึ้นที่ประเทศอินเดียมาหลายพันปีแล้ว โดยเล่นแบบ สลับกันเดินหมากคนละตา และได้ถูกปรับเปลี่ยนต่อในหลายประเทศเพื่อให้เข้ากับประเทศของตน ทำให้การเดินหมากถึงแม้จะไม่เหมือนกัน แต่ยังคงพื้นฐานเดียวกันอยู่
ส่วนตัวผมชอบการเล่นหมากรุกสากล (Chess)
มาว่ากันถึงกติกาการเล่นกันดีกว่า เกมมหมากรุกสากลออกจะมีกฎที่แตกต่างจากหมากรุกไทยอยู่สักนิดหน่อย อาจจะงงอยู่สักหน่อยในช่วงแรกๆ เอาหล่ะมาเริ่มกันเลย :P
กระดาน
กระดานของหมากรุกสากลจะเหมือนกับกระดานของหมากฮอส ที่มีการทำเครื่องหมายช่องเว้นช่อง ขนาด 8*8 ในแนวนอนมีตัวอักษร A-H กำกับอยู่ในแต่ละช่อง ในแนวตั้งจะมีเลข 1-8 กำกับอยู่ในแต่ละช่องเช่นกัน
ตัวอย่างตารางหมาก
การจัดหมาก
ตัวหมาของแต่ละฝ่ายจะจัดเป็น 2 แถว โดยแถวแรกจะจัดเรียงจาก
เรือ,ปราสาท(Rook) , ม้า (Knight) , บิชอบ(Bishop) , ควีน(Queen) , คิง(King) , บิชอบ(Bishop) , ม้า(Knight) , เรือ,ปราสาท(Rook)
และวาง เบี้ย(Pawn) ไว้ที่แถวที่2
ในการวางตัว King และ Queen นั้นจะต้องให้ Queen ของ แต่ละฝ่ายอยู่ในช่องที่ตรงกับสีของตัวเองเสมอ นั่นคือ Queen สีขาวอยู่ที่ช่องสีขาว Queen สีดำอยู่ในช่องสีดำ ดังนั้นKing และ Queen ของแต่ละฝ่ายจะต้องวางตรงกันกับฝ่ายตรงกันข้ามเสมอ
ตัวอย่างการวางหมาก
ตัวหมาก
ในการเล่นหมากรุกสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ตัวหมาก
การกินกันของหมากฝ่ายเราและฝ่ายตรงกันข้าม คือการที่เราเอาตัวหมากของเราไปวางแทนที่หมากฝ่ายตรงข้ามนั่นเอง
เอาหล่ะเรามาทำความรู้จักกับตัวหมากต่างๆ กันดีกว่า
1.คิง(King)
-การเดิน เดินได้ 8 ช่องรอบตัว
-เดินได้ครั้งละ 1 ช่อง
ตัวอย่างการเดินของ King
2.ควีน(Queen)
-การเดินหมาก เดินได้ 8 ทิศทางรอบตัว
-สามารถเดินได้สุดกระดาน จะวางที่ช่องไหนก็ได้ จนก่าจะมีตัวหมากมาขวาง
ตัวอย่างการเดินของ Queen
3.เรือ,ปราสาท(Rook)
-การเดินหมาก เดินได้ 4 ทิศรอบตัว (บน,ล่าง,ซ้าย,ขวา)
-เดินไกลเท่าไหร่ก็ได้จนกว่าจะมีตัวหมากอื่นมาขวาง
ตัวอย่างการเดินของ Rook
4.บิชอบ(Bishop)
-การเดิน เดินในแนวทเฉียง 4 ทิศ ในสีของตัวเอง
-สามารถเดนไกลเท่าไหร่ก็ได้จนกว่าจะมีตัวหมากมาขวาง
ตัวอย่างการเดินหมากของ Bishop
5.ม้า,อัศวิน (Knight)
-การเดิน เดินแบบ 2*3 ช่องนับจากตัวหมาก ได้ 8 ทาง หรือเดินเป็นรูปตัว L โดยสามารถ เดินข้ามหมากของฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายของตัวเองก้ได้
ตัวอย่างการเดินหมากของ Knight
6.เบี้ย(Pawn)
-การเดิน เดินตรงทีละ 1 ช่อง
-เบี้ยของหมากรุกสากลออกจะพิเศษแตกต่างจากหมากรุกไทยอยู่สักหน่อย ตรงที่การเดินในครั้งแรกของเบี้ยนั้น จะสามารถเลือกเดิน 1 หรือ 2 ช่องก็ได้
-การกินของเบี้ย จะกินทิศเฉียง
-เมื่อเบี้ยเดินไปสุดกระดานอีกฝั่งนึง จะสามารถเลือกเปลี่ยน Pawn เป็น Queen , Rook , Bishop หรือ Knight ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ และจะเป็นตัวนั้นไปตลอด จนกว่าจะจบเกม หรือถูกกิน
ตัวอย่างการเดินของ Pawn
**ในช่องสามเหลี่ยมคือการกินของเบี้ยที่กินในแนวเฉียง
การเล่นเกมจะสนุกมากยิ่งขึ้นด้วยกฎเพิ่มเติ่ม ดังนี้
กฎการเข้าป้อม
กฎการเข้าป้อมคือ เป็นการเดินครั้งแรกของ King และ Rook ที่อยู่ในแถวเดียวกัน โดยถือเป็นการเดินครั้งเดียวของ King และจะทำไม่ได้หากว่า King หรือ Rook เคยเดินไปแล้ว หรือ King ถูกรุกอยู่ หรือตาเดินระหว่าง King กับ Rook มีหมาของฝ่ายตรงข้ามคุมตาเดินอยู่
ในการเข้าป้อมให้เคลื่อนที่ King 2 ช่อง ไปในทิศทางที่ Rook อยู่แล้วเคลื่อน Rook มาอยู่ช่องด้านหน้า King
ตัวอย่างการเข้าป้อม
กฎการกินผ่าน
กฎนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ Pawn ฝ่ายหนึ่งเดิน Pawn ครั้งแรก 2 ช่องไปอยู่ติดกับ Pawn ของอีกฝ่ายหนึ่งในแถวเดียวกัน อีกฝ่ายสามารถเลือกที่จะกิน Pawn ตัวนี้หรือไม่ก็ได้โดยถ้าจะกิน ต้องกินทันที มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์ในการกินอีกในตาถัดไป
ตัวอย่างการกินผ่าน
การสิ้นสุดเกม
1. เมื่อ King ถูกรุกไล่จนจนมุม ไม่มีช่องให้หนีได้ ฝ่ายที่ถูกรุก จะเป็นฝ่ายที่แพ้ไป กรณีนี้จะเรียกว่าการ "รุกฆาต (Checkmate)"
2.ในกรณีที่เสมอ ในกรณีนี้สามารถแยกได้อีก
-2.1 กรณีที่ King ไม่ได้ถูกรุกอยู่ และไม่มีตาเดิน ในตานั้นๆจะถือว่าเสมอ หรือเรียกว่า
"อับ(Stalemate)" ก็ได้
-2.2 ในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าเกมเสมอในขณะที่เล่นอยู่ ให้ถือว่าเกมได้จบลงทันที
-2.3 ในกรณีที่ รูปหมากมีการซ้ำกันถึง 3 ครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นตาเดินที่ติดต่อกัน ให้ถือว่าเสมอ (อันนี้จะใช้ในการแข่งขันทุกการแข่งขัน เพราะจะมีการจดตาหมากในทุกๆกระดานที่แข่งขันกันว่าในฝ่ายของใครเดินหมากตัวไหนไปที่ตาไหน ถือเป็นสากล)
2.4ในกรณีที่ ไม่มีการกินกัน หรือเดินเบี้ยเลย ฝ่ายละ 50 ตาติดต่อกัน ให้ถือว่าเสมอ
3.ผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประกาศขอยอมแพ้
เป็นอย่างไรกันบ้างกับการอธิบายกฎเบื้องต้น นี่แค่เบื้องต้น ยังมีเทคนิคต่างๆอีกมาก ทั้งนี้ยังต้องอาศัยประสบการณ์ควบคู่ไปด้วย
ส่วนตัวของผมที่ติดใจกับเกมกระดานเหล่านี้ ถึงแม้ใครหลายคนอาจจะมองว่าล้าหลัง ดูไม่ทันสมัยเลย แต่ถือได้ว่าเป็นเกมที่ให้อะไรหลายๆอย่างกับเรา ทั้งการพัฒนาด้านอารมณ์ การตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำ การวางแผนล่วงหน้า แถมยังได้จิตวิทยาด้วยในการคิด คาดคะเนตาหมากของคู่ต่อสู้ว่าจะเดินแบบไหน เดินอย่างไร เพื่อให้ได้ซึ่งชัยชนะมา
ตัวผมก็เริ่มเล่นมาตั้งแต่เด็ก เรื่อยมา ช่วงที่ติดหนักสุดนี่คาดว่าช่วง ม.4 - ม.5 ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหน หากว่างเป็นต้องตั้งกระดานกับเพื่อนในห้อง นั่งเล่นกัน เล่นจนชำนาญ จนได้มีโอกาสไปแข่งขันในนามของทางโรงเรียน จนได้ถ้วยรางวัลมาให้ทางโรงเรียนได้ภูมิใจกัน :)